แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศ และบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพูนและแบ่งปันผลประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพโดยสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว
แผนปฏิบัติการ
เป้าหมาย
ภายในปี 2563 มีกลไก และกฎระเบียบในการให้อนุญาตเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในหน่วยงานหลักของประเทศ
ภายในปี 2563 บูรณาการกลไกเพื่อบริหารจัดการการเข้าถึง แบ่งปันผลประโยชน์ และติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม
ภายในปี 2564 ประชาคมวิจัยและชุมชนท้องถิ่นมีการจัดทำกลไกและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม
ภายในปี 2563 บูรณาการกลไกเพื่อบริหารจัดการการเข้าถึง แบ่งปันผลประโยชน์ และติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม
ภายในปี 2564 ประชาคมวิจัยและชุมชนท้องถิ่นมีการจัดทำกลไกและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม
ตัวชี้วัด
1 ร้อยละ 80 ของหน่วยงานหลักของประเทศที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม มีการจัดทำหรือปรับปรุงกลไกการให้อนุญาตเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จ
2 มีการบูรณาการกลไกบริหารจัดการการเข้าถึง แบ่งปันผลประโยชน์ และติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม
3 มีการจัดทำกลไกและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมในประชาคมวิจัยและชุมชนท้องถิ่น
มาตรการ
แนวทางปฏิบัติ | แผนงาน/โครงการ |
---|---|
3.1.1.1 วิเคราะห์ ช่องว่างและความเชื่อมโยงของกฎหมายและหน่วยงานภายในประเทศที่มีความสำคัญในการดำเนินงานเรื่องการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ | 1. ศึกษาและจัดทำแนวทางการปรับปรุง แก้ไข การบริหารจัดการการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ภายในประเทศ เพื่อรองรับการดำเนินงานตามพิธีสารนาโงยาฯ |
2. ทบทวนกฎระเบียบ กลไก จำแนกระบุและประสานงานเพื่อกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อรองรับพันธกรณีตามพิธีสารนาโงยาฯ | |
3.1.1.2 เร่งรัดให้มีการจัดทำและปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกลไกในการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ การใช้ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม เพื่อปกป้องคุ้มครองแหล่งและทรัพยากรพันธุกรรม | 1. สนับสนุนการจัดทำและปรับปรุงกฎระเบียบและกลไกของหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม |
3.1.1.3 บูรณาการกลไกบริหารจัดการการเข้าถึง แบ่งปันผลประโยชน์ และติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม | 1. ศึกษาแนวทางการจดทรัพย์สินทางปัญญาของสัตว์พันธุ์ใหม่ที่ปรับปรุงพันธุ์จากสัตว์พื้นเมือง |
2. ศึกษาเพื่อจัดทำกลไกและแนวทางการดำเนินงาน ในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เรื่องการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการดำเนินงานในระดับระหว่างประเทศ | |
3. ศึกษาและจัดทำแนวทางในการบูรณาการกลไกบริหารจัดการการเข้าถึง แบ่งปันผลประโยชน์ และติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น | |
3.1.1.4 ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการเข้าถึงและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ ตามระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๕๔ | 1. จัดทำกลไกและกฎระเบียบเกี่ยวกับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ภายใต้เครือข่ายสถาบันการอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนและงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ |
2. กำกับดูแลงานวิจัยและจริยธรรมการใช้สัตว์เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ องค์การสวนสัตว์ โดยสอดคล้องกับระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๕๔ | |
3. จัดทำ/ปรับปรุงกลไกและกฎระเบียบเกี่ยวกับการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ในหน่วยงานของรัฐและสถาบันวิจัย ให้สอดคล้องกับระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๕๔ | |
3.1.1.5 เสริมสร้างสมรรถนะภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะประชาคมวิจัยและชุมชนท้องถิ่นในการจัดทำกลไกและกฎระเบียบเกี่ยวกับการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง | 1. ส่งเสริมการจัดทำกลไกและกฎระเบียบเรื่องการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ในชุมชนท้องถิ่นและประชาคมวิจัย |
2. เผยแพร่และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่น ที่มีกิจกรรมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ | |
3. เผยแพร่และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่น ที่มีกิจกรรมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ |
เป้าหมาย
ภายในปี พ.ศ. 2564 มีมาตรการและกลไกการนำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้จากผลิตภัณฑ์ชีวภาพกลับคืนสู่แหล่งกำเนิดชีวภาพเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
1 มีมาตรการและกลไกการนำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้จากผลิตภัณฑ์ชีวภาพกลับคืนสู่แหล่งกำเนิดชีวภาพเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
มาตรการ
แนวทางปฏิบัติ | แผนงาน/โครงการ |
---|---|
3.2.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยทรัพยากรชีวภาพ ที่มีศักยภาพในการพัฒนา เชิงเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ โดยอาศัยองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ | 1. บริหารจัดการศูนย์ส่งเสริมธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ |
2. ศึกษาการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจในป่าชายเลน | |
3. ปรับปรุงสายพันธุ์พืชเพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ | |
4. โครงการพัฒนาเครื่องดื่มจากพืชในท้องถิ่น | |
5. การศึกษาลักษณะทางกายภาพ ชีวเคมี และพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์แบคทีเรีย ไวรัส และพันธุกรรมของเซลล์ที่ใช้ในการผลิต ควบคุมคุณภาพ และพัฒนา ชีวภัณฑ์สำหรับสัตว์ | |
6. โครงการพัฒนาไวรัสสายพันธุ์ท้องถิ่นเพื่อผลิตวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย | |
7. โครงการใช้ประโยชน์จากโคพื้นเมืองไทยเพื่อผลิตโคพื้นฐานไทยแบล็ค | |
8. โครงการพ่อและแม่กระบือพันธุ์ดีประจำหมู่บ้าน | |
9. โครงการใช้ประโยชน์จากแพะพื้นเมืองไทยเพื่อผลิตแพะพื้นฐานแดงสุราษฎร์ | |
10. ศึกษาวิจัยทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ พัฒนาศักยภาพของทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นที่มีอยู่ โดยอาศัยองค์ความรู้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นหรือประชาชนในพื้นที่และผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ | |
11. วิจัยเพื่อปรับปรุงบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดพันธุ์ที่อนุญาตเพาะพันธุ์ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ให้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | |
12. ส่งเสริมการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่แห้งแล้ง | |
13. การสอบสายพันธุ์สตอเบอรี่โดยวิธีมอริโกล่า (MOLEXCULAR) | |
14. วิจัยสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในขี้เพี้ยโคขุนและโคพื้นเมือง | |
15. สำรวจพันธุ์พืชสมุนไพรป่าเต็งรัง | |
16. ศึกษานิเวศวิทยาและการย้ายปลูกไลเคน Pamotrematinctorum เพื่อผลิตสีย้อมผ้าไหม | |
17. การรวบรวม วิเคราะห์งานวิจัยหรือด้านกฎหมาย (ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรพันธุกรรม ข้อกฎหมายหรือการทำแผนที่สิทธิบัตร) | |
3.2.1.2 ศึกษาเพื่อการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้/ภูมิปัญญา | 1. พัฒนาผลิตภัณฑ์จากราไลเคน |
2. พัฒนาส่งเสริมอาชีพจากการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของสัตว์พื้นเมือง ผลิตเป็นสินค้าและบริการชุมชน ต่อยอดเป็นเชิงธุรกิจ | |
3. ศึกษาพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรชีวภาพทางด้านปศุสัตว์เชิงพาณิชย์ | |
4. โครงการพัฒนาแปลงไม้ผลเศรษฐกิจและไม้ดอกเขตหนาวที่มีศักยภาพบนภูทับเบิกสถานีวิจัยเพชรบูรณ์ | |
3.2.1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตร รวมถึงการนำนวัตกรรมมาใช้ทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ | 1. ผลิตกระบือขุนลูกผสมกระบือปลักและกระบือนมด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ |
2. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการพัฒนาชีวินทรีย์ปราบศัตรูพืช | |
3. วิจัยพัฒนาและประยุกต์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการจัดการโรคพืช ศัตรูพืชและส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช | |
4. การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสารสีในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดที่มีค่าเชิงเศรษฐกิจในสิ่งมีชีวิตกลุ่มจุลชีพสาหร่ายและพืชพรรณไม้น้ำที่มีอยู่ในระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง และการประยุกต์ใช้เป็นเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน |
แนวทางปฏิบัติ | แผนงาน/โครงการ |
---|---|
3.2.2.1 ศึกษากลไกและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ | 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (ศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ) |
2. พัฒนากฎหมายสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ | |
3.2.2.2 เสริมสร้างสมรรถนะในการพึ่งพาตนเองของชุมชนด้านเทคโนโลยี การผลิต และการตลาด ในการใช้ประโยชน์และการสร้างผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการพัฒนาบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมให้เข้มแข็งในการผลิตสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน | 1. โครงการคุณค่าสมุนไพรสร้างสุขอนามัยแก่ชุมชน |
2. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ | |
3. ส่งเสริมช่องทางและสร้างโอกาสทางการตลาด | |
4. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนทางด้านการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง | |
5. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลนและทรัพยากรทางทะเล/การพัฒนาและยกระดับสินค้าชุมชนจากทรัพยากรป่าชายเลนสัตว์ทะเล | |
3.2.2.3 พัฒนาสมรรถนะในการแข่งขันของประเทศโดยการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นฐานการผลิต การบริโภคสีเขียว การสร้างนวัตกรรม และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ | 1. พัฒนา Business @ Biodiversity Platform และ Business & Biodiversity Check (การตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ) |
2. ศึกษาความคุ้มค่า จากการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการสนับสนุน | |
3.2.2.4 ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | 1. สนับสนุนให้มีการนำผลการวิจัย และส่งเสริมถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ระหว่างหน่วยงาน สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการ |
3.2.2.5 สนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจชีวภาพให้เกิดความร่วมมือ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ความเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ และสร้างโอกาสในการปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต การตลาด และผลิตภัณฑ์ รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น | 1. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Economy Acadamy) เพื่อฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้ในการประกอบธุรกิจชีวภาพ |
2. ส่งเสริมธุรกิจเชิงพาณิชย์ (พัฒนาผลิตภัณฑ์และจับคู่ธุรกิจ) | |
3. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจเชิงลึก รายธุรกิจ (ข้อมูลเศรษฐกิจ กรณีพิพาท ข้อกีดกันทางการค้า) |
แนวทางปฏิบัติ | แผนงาน/โครงการ |
---|---|
3.2.3.1 ส่งเสริมและพัฒนากลไกการนำผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและทรัพยากรพันธุกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพคืนสู่แหล่งกำเนิดชีวภาพและนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งพันธุกรรมและส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน | 1. จัดทำมาตรการ/กลไกทางการเงินหรือเงินอุดหนุนจากผู้ได้รับประโยชน์ไปยังผู้รักษาทรัพยากร |
2. ศึกษาและพัฒนากลไกการนำผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพคืนสู่แหล่งกำเนิด เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | |
3.2.3.2 พัฒนาฉลากสินค้าและตรารับรองผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | 1. การพัฒนามาตรฐานและการตรวจประเมินตราส่งเสริมและรับรองผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (BIO ECONOMY) |
2. พัฒนารูปแบบฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 แบบรับรองตนเองสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน พื้นที่ภาคกลาง | |
3. พัฒนาส่งเสริมฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 แบบรับรองตนเองสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ |